ทำเนียบผลการประกวดผลงานดีเด่น
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย
วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556
อาสาปศุสัตว์ดีเด่น
กิจกรรมการคัดเลือกอาสาปศุสัตว์ดีเด่น
กรมปศุสัตว์เห็นความสำคัญของอาสาสมัครเกษตรด้านปศุสัตว์ที่เรียกว่า "อาสาปศุสัตว์" ( อสป. ) ว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาการปศุส้ัตว์ระดับท้องที่ และเพื่อเป็็นขวัญและกำลังใจให้กับอาสาปศุสัตว์มีกำลังใจในการปฏิบัติงานต่อไป กรมปศุสัตว์จึงมีนโยบายมอบรางวัล " อาสาปศุสัตว์ดีเด่น" สำหรับอาสาปศุสัตว์ที่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและสมารถปฏิบัติงานได้ดีเด่นกว่าอาสาปศุสัตว์อื่นๆเป็นผู้ได้รับรางวัลอาสาปศุสัตว์ดีเด่น
คุณสมบัติของอาสาปศุสัตว์ดีเด่นที่จะได้รับการคัดเลือก ประกอบด้วย
1. ทำหน้าที่เป็นอาสาปศุสัตว์ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ไม่น้อยกว่า 3 ปีต่อเนื่อง โดยพิจารณาการปฏิบัติงานของอาสาปศุสัตว์ที่มีส่วนร่วมกับเจ้าหน้าที่เป็นหลัก
2. มีความประพฤติดี มีคุณธรรมและจริยธรรม
3. มีบุคลิกภาพและมีมนุษย์สัมพันธ์ดี
4. เป็นผู้ที่สังคมหรือชุมชนให้การยอมรับ
หลักเกณฑ์การพิจารณา ประกอบด้วย
- การทำหน้าที่เป็นอาสาปศุสัตว์
- การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
- ความประพฤติ
- บุคลิกภาพ
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556
กลุ่มเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพการเลี้ยงสัตว์
โครงการคัดเลือกเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรดีเด่น สาขาการเลี้ยงสัตว์ดีเด่นแห่งชาติ
หลักการและเหตุผล
ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานโครงการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติเป็นประจำทุกปี เพื่อค้นหาเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น เพื่อเป็นการยกย่องประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่ผลงานให้เป็นที่ปรากฏแก่สาธารณชน เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการสร้างผลงานที่เป็นประโยขน์ต่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติของบุคคลสถาบันอื่นต่อไป ในสาวนของกรมปศุสัตว์ได้รับมอบหมายให้คัดเลือกเกษตรกรดีเด่น ( อาชีพการเลี้ยงสัตว์ ) และสถาบันเกษตรดีเด่น ( กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ )
วัตถุประสงค์
1. สถาบันเกษตรกรดีเด่น ( กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ )
- เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ให้ปรากฎต่อสาธารณะชนและเป็นตัวอย่างแก่กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์อื่นๆ
- เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ให้มีประสิทธิภาพด้านปศุสัตว์สูงขึ้น
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เกษตรกรดีเด่น ( อาชีพการเลี้ยงสัตว์ )
- เพื่อค้นหาเกษตรกรอาชีพการเลี้ยงสัตว์ที่ปฎิบัติงานด้วยความซื่่อสัตย์ สุจริต เสียสละ บำเพ็ญประโยชน์เพื่อช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนของส่วนรวม
- เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรอาชีพการเลี้ยงสัตว์ได้ทำงานด้วยความอุตสาหะ มานะ พยายามและพร้อมที่จะแข่งขันกันสร้างผลงานให้ปรากฏต่อสาธารณะชน
- เพื่อยกย่องเกียรติคุณของเกษตรกรอาชีพการเลี้ยงสัตว์ให้ปรากฎและยึดเป็นตัวอย่างในแนวทางการปฏิบัิติงานของบุคคลอื่นต่อไป
คุณสมบัติของเกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
1. สถาบันเกษตรกร ( กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ )
1.1 เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฏหมายหรือเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันอย่างเข้มแข็งและขึ้นทะเบียน เพื่อรับการส่งเสริมและสนับสนุนจากส่วนราชการมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
1.2 เป็นกลุ่มเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์
1.3 เป็นกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ที่จัดตั้งและดำเนินกิจการมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
1.4 ต้องมีข้อมูลย้อนหลังให้คณะกรรมการตรวจสอบไม่น้อยกว่า 3 ปี
1.5 เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ไม่เคยได้รับพระราทานโล่รางวัลดีเด่นแห่งชาติหรือได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. เกษตรกร ( อาชีพเลี้ยงสัตว์ )
2.1 เป็นเกษตรกรสัญชาติไทย มีความประพฤติดี ไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียมาก่อน
2.2 เป็นผู้ประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตว์ สุจริต ยอมเสียสละเพื่อส่วนรวม
2.3 เป็นผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์มาไม่น้อยกว่า 5 ปี
2.4 เป็นเจ้าของฟาร์มสาธิตหรือฟาร์มตัวอย่างภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพการเลีั้้ยงสัตว์ของกรมปศุสัตว์และ/ หรือมีกิจการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไปอย่างต่อเนื่อง
2.5 เป็นผู้ที่มีผลงานทางด้านปสุสัตว์ดีเด่นเป็นพิเศษ และได้เผยแพร่ให้แก่ส่วนรวมนำไปใช้ประโยชน์ สมควรแก่การยกย่องให้เป็นตัวอย่างแก่บุคคลอื่น
2.6 เป็นผู่ที่ไม่เคยได้รับพระราทานโล่รางวัลเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติสาขาเดียวกันมาก่อน
2.7 มีอาชีพการเลี้ยงสัตว์และมีการพัฒนาฟาร์มอย่างต่อเนื่อง
เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรดีเด่นที่ได้รับการคัดเลือก อันดับที่ 1 ระดับประเทศ จะได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานโล่รางวัลในงานพระราชพิธิจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีสนามหลวงในเดือน พฤษภาคมของทุกปี
โรงเรียนตามพระราชดำริ กิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น
การคัดเลือกโรงเรียนตามพระราชดำริ กิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น
1.หลักการและเหตุผล
ตามที่กรมปศุสัตว์ดำเนินโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ เพื่อให้ผลิตอาหารโปรตีน เป็นอาหารกลางวันของนักเรียนได้ครบตามเกณฑ์ตลอดปี ให้มีผลผลิตพอเพียง สม่ำเสมอและยั่งยืน ให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงสัตว์ และโรงเรียนเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ สามารถบริหารจัดการกิจกรรมให้ต่อเนื่อง ยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้
2. วัตถุประสงค์
1 ) เพื่อคัดเลือกโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริที่ทำกิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น มีผลงานบรรลุผลสำเร็จสนองตามแนวพระราชดำริ
2 ) เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของโรงเรียนให้เป็นที่ปรากฎแก่สาธารณชน เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นแหล่งเรียนรู้แก่โรงเรียนอื่นๆ
3 ) เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานกิจกรรมปศุสัตว์ของโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ ให้ดำเนินงานสนองแนวพระราชดำริ อย่างมีประสิทธิภาพ
3. คุณสมบัติของโรงเรียนที่มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
1 ) เป็นโรงเรียนตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้รับการส่งเสริมจากกรมปศุสัตว์ มีการเลี้ยงปศุสัตว์ในโรงเรียน จัดนักเรียนทำกิจกรรมและนำผลผลิตเป็นอาหารของนักเรียน
2 ) มีข้อมูลการดำเนินงานอย่างน้อยตั้งแต่ต้นปีการศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา ถึงช่วงเวลาที่คณะกรรมการออกตรวจติดตามผลงาน
3 ) โรงเรียนที่ได้รับรางวัลดีเด่นระดับประเทศอันดับที่ 1 ในปีงบประมาณ 2555 จะถูกงดเว้นในการเข้าคัดเลือกในปีงบประมาณ 2556 เป็นเวลา 1 ปี
4. รางวัล
1 ) โรงเรียนฯ ดีเด่นระดับเขต
- อันดับที่ 1 - 3 จะได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลจากปศุสัตว์เขต ดังนี้ เงินรางวัล อันดับที่ 1 เป็นเงิน 5,000 บาท อันดับที่ 2 เป็นเงิน 3,000 บาท อันดับที่ 3 เป็นเงิน 2,000 บาท
2 ) โรงเรียนฯ ดีเด่นระดับประเทศ
- อันดับที่ 1 - 3 และรางวัลชมเชย 5 รางวัล จะได้รับโลห์จากอธิบดีกรมปศุสัตว์ และได้รับรางวัลดังนี้ อันดับที่ 1 จำนวน 15,000 บาท อันดับที่ 2 จำนวน 10,000 บาท อันดับที่ 3 จำนวน 5,000 บาท รางวัลชมเชยรางวัละ 3,000 บาท
- ครูปศุสัตว์ทั้ง 8 โรงเรียนจะได้รับเกียรติบัตรครูปศุสัตว์ดีเด่น จากกรมปศุสัตว์
3 ) ศศช. ดีเด่น ของจังหวัดเชียงใหม่ น่าน ตาก จะได้รับเกียรติบัตรจากกรมปศุสัตว์และเงินรางวัล ศศช.ละ 3,000 บาท
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นขวัญและกำลังใจสำหรับผู้ปฏิบัติงานโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ กิจกรรมปศุสัตว์
1.หลักการและเหตุผล
ตามที่กรมปศุสัตว์ดำเนินโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ เพื่อให้ผลิตอาหารโปรตีน เป็นอาหารกลางวันของนักเรียนได้ครบตามเกณฑ์ตลอดปี ให้มีผลผลิตพอเพียง สม่ำเสมอและยั่งยืน ให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงสัตว์ และโรงเรียนเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ สามารถบริหารจัดการกิจกรรมให้ต่อเนื่อง ยั่งยืน พึ่งพาตนเองได้
2. วัตถุประสงค์
1 ) เพื่อคัดเลือกโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริที่ทำกิจกรรมปศุสัตว์ดีเด่น มีผลงานบรรลุผลสำเร็จสนองตามแนวพระราชดำริ
2 ) เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของโรงเรียนให้เป็นที่ปรากฎแก่สาธารณชน เป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นแหล่งเรียนรู้แก่โรงเรียนอื่นๆ
3 ) เพื่อพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานกิจกรรมปศุสัตว์ของโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ ให้ดำเนินงานสนองแนวพระราชดำริ อย่างมีประสิทธิภาพ
3. คุณสมบัติของโรงเรียนที่มีสิทธิ์เข้ารับการคัดเลือก
1 ) เป็นโรงเรียนตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้รับการส่งเสริมจากกรมปศุสัตว์ มีการเลี้ยงปศุสัตว์ในโรงเรียน จัดนักเรียนทำกิจกรรมและนำผลผลิตเป็นอาหารของนักเรียน
2 ) มีข้อมูลการดำเนินงานอย่างน้อยตั้งแต่ต้นปีการศึกษาในรอบปีที่ผ่านมา ถึงช่วงเวลาที่คณะกรรมการออกตรวจติดตามผลงาน
3 ) โรงเรียนที่ได้รับรางวัลดีเด่นระดับประเทศอันดับที่ 1 ในปีงบประมาณ 2555 จะถูกงดเว้นในการเข้าคัดเลือกในปีงบประมาณ 2556 เป็นเวลา 1 ปี
4. รางวัล
1 ) โรงเรียนฯ ดีเด่นระดับเขต
- อันดับที่ 1 - 3 จะได้รับเกียรติบัตรและเงินรางวัลจากปศุสัตว์เขต ดังนี้ เงินรางวัล อันดับที่ 1 เป็นเงิน 5,000 บาท อันดับที่ 2 เป็นเงิน 3,000 บาท อันดับที่ 3 เป็นเงิน 2,000 บาท
2 ) โรงเรียนฯ ดีเด่นระดับประเทศ
- อันดับที่ 1 - 3 และรางวัลชมเชย 5 รางวัล จะได้รับโลห์จากอธิบดีกรมปศุสัตว์ และได้รับรางวัลดังนี้ อันดับที่ 1 จำนวน 15,000 บาท อันดับที่ 2 จำนวน 10,000 บาท อันดับที่ 3 จำนวน 5,000 บาท รางวัลชมเชยรางวัละ 3,000 บาท
- ครูปศุสัตว์ทั้ง 8 โรงเรียนจะได้รับเกียรติบัตรครูปศุสัตว์ดีเด่น จากกรมปศุสัตว์
3 ) ศศช. ดีเด่น ของจังหวัดเชียงใหม่ น่าน ตาก จะได้รับเกียรติบัตรจากกรมปศุสัตว์และเงินรางวัล ศศช.ละ 3,000 บาท
5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นขวัญและกำลังใจสำหรับผู้ปฏิบัติงานโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ กิจกรรมปศุสัตว์
2. เกิดการพัฒนาการดำเนินงานกิจกรรมปศุสัตว์ในโรงเรียนโครงการตามพระราชดำริ อย่่างมีประสิทธิภาพ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)